มี update เรื่อยๆ นะครับ เพื่อนลองเข้าไปดู มีหลายแง่มุมให้พิจารณาครับ
โพสต์ที่เขียนโดย meesookho
-
รวมคลิปสัมภาษณ์องค์กรเกี่ยวกับที่ปรึกษาการเงิน นักวางแผนการเงิน
-
มาดูข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับวิชาชีพทางการเงินกัน
ผมได้รวบรวมข้อมูลเป็น playlist ไว้ใน youtube channel ครับ ลองทดสอบตัวเองได้ครับ ว่าตอบถูกกี่ข้อ
-
สัมภาษณ์บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุนในด้านที่เกี่ยวข้องกับที่ปรึกษาทางการเงิน
ผมได้มีโอกาสสัมภาษณ์ คุณพิชญา ซุ่นทรัพย์ นักวางแผนการเงิน CFP ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน BMK Wealth เกี่ยวกับการทำงานของที่ปรึกษาทางการเงิน น่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆหลายท่านครับ ตาม Link ด้านล่างเลยครับ
-
สินเชื่อบ้านกับรถยนต์แตกต่างกันอย่างไร?
ผมสรุปไว้ในคลิปนี้ครับ เน้นไปที่เรื่องของการคิดดอกเบี้ยที่แตกต่างกัน โดยใช้ Excel เทียบให้เห็นแบบชัดเจนเลยครับ
-
CFP Module 2 การวางแผนการลงทุน เรียนอะไรบ้าง?
Module ปราบเซียนครับ
ต้องเรียนอะไรบ้าง ผมสรุปไว้ใน Clip นี้ครับ -
CFP Module 1 เรียนอะไรบ้าง นำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง?
ผมสรุปไว้ในคลิปด้านล่างนี้ เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้ที่กำลังตัดสินใจเข้าสู่เส้นทางนักวางแผนการเงิน CFP ครับ
-
ประโยชน์ของการเป็นนักวางแผนการเงิน CFP ครับ
ผมสรุปไว้ใน Clip นี้ จากประสบการณ์ 12 ปี หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ นะครับ
-
รวบรวมวิธีแก้ไขปัญหาหนี้จากธนาคารแห่งประเทศไทย
ปัจจุบันนี้หนี้ครัวเรือนของประเทศไทยยังคงสูงกว่าระดับที่ควรจะเป็น
ประเด็นเรื่องหนี้สินผมมักจะวิเคราะห์แบ่งเป็น 3 สถานะ คือ- ก่อนเป็นหนี้
- ระหว่างเป็นหนี้ ผ่อนชำระตามปกติ
- มีปัญหาผ่อนชำระหนี้
ในโพสนี้ ผมขอรวบรวม คำแนะนำจากธนาคารแห่งประเทศไทย เน้นไปที่ การแก้ปัญหาผ่อนชำระหนี้ เผื่อจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่ต้องการทราบข้อมูลครับ
- เขียนจดหมายยังไงให้เจ้าหนี้ยอมช่วย link
- การปรับโครงสร้างหนี้ link
- ขอปรับโครงสร้างหนี้แบบไหน...ที่เหมาะกับเรา link
- การแก้ไขหนี้ส่วนบุคคล บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด link
- การแก้ไขหนี้บ้าน link
- การแก้ไขหนี้เช่าซื้อ link
หรือหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการบริหารหนี้สินในด้านอื่นๆ สามารถเข้าไปที่ link ได้ครับ
-
RE: การลงทุนในประเทศอาเซียน
@Bananaheadteam ผมไม่มีความรู้พอครับ ต้องขอเชิญ @bonthr @phongthorn @Tom89 @tiantayach และผู้เชี่ยวชาญท่านอื่นๆ ขอบคุณครับ
-
4 เสาหลักเพื่อความมั่งคั่งที่ยั่งยืน
4 เสาหลักเพื่อความมั่งคั่งที่ยั่งยืน
ผมได้มีโอกาสศึกษาเรื่องการเงินส่วนบุคคลมายาวนานกว่า 15 ปี อ่านหนังสือทั้งภาษาไทยและอังกฤษที่เกี่ยวข้องร่วม 100 เล่ม ผ่านประสบการณ์ทำงานในอุตสาหกรรม ประกัน ลงทุน และการวางแผนการเงิน ทั้งในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ วิทยากร ผู้ประกอบการ
ได้เรียนรู้หลายแนวคิดที่คนนิยมกัน เช่น การมีอิสรภาพทางการเงิน การวางแผนเกษียณเพื่อให้มีความสุขในบั้นปลายชีวิต การใช้กลยุทธ์ลงทุนพยายามเอาชนะตลาด การเริ่มต้นกิจการใหม่เพื่อสร้างความมั่งคั่งอย่างรวดเร็ว
ได้พบว่าแต่ละแนวคิดมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไป แต่ก็มีเป้าหมายที่สอดคล้องกันคือการสร้างและรักษาความมั่งคั่งให้อยู่อย่างยั่งยืน
ผมจึงพยายามเรียบเรียงองค์ประกอบสำคัญเพื่อสรุปเป็นหลักการให้กับผู้ที่ต้องการนำไปใช้ประโยชน์ โดยต้องการให้เป็นมุมมองของคนทั่วๆไป ไม่ใช่ผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้เชี่ยวชาญ หรือ อาจารย์ มุ่งหวังให้ง่ายต่อความเข้าใจ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้สำหรับคนทุกระดับ ด้วยการวิเคราะห์ค้นหาแนวทางที่เหมาะสมกับแต่ละคน
4 เสาหลักเพื่อความมั่งคั่งที่ยั่งยืน (4 Pillars of Sustainable Wealth) ประกอบไปด้วย- การบริหาร รายรับรายจ่าย
- การบริหาร ทรัพย์สิน
- การบริหาร หนี้สิน
- การบริหาร ความเสี่ยง
ซึ่งทั้ง 4 เสาหลัก ต่างมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เริ่มจาก เสาหลักที่ 1 ด้วยการคิดแบบง่ายๆว่า หากในช่วงเวลาหนึ่ง รายรับมากกว่ารายจ่าย ย่อมหมายถึง การมีเสาหลักที่ 1 ที่แข็งแรง ซึ่งเมื่อนำรายรับหักออกด้วยรายจ่าย ส่วนที่เหลือก็จะกลายเป็น ทรัพย์สิน ที่สามารถนำมาใช้จ่ายได้ในอนาคตหรือส่งต่อให้คนอื่นได้ตามที่ต้องการ
นำไปสู่ เสาหลักที่ 2 คือการบริหารทรัพย์สิน ที่เกี่ยวข้องกับ การเลือกรูปแบบของทรัพย์สินที่จะเป็นประโยชน์ตามที่ต้องการในอนาคต ซึ่งการลงทุนที่หลายๆคนให้ความสำคัญนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการบริหารทรัพย์สิน เสาหลักที่ 2 ที่แข็งแรงจึงหมายถึง การบริหารจัดการทรัพย์สินให้สอดคล้องกับความจำเป็นและความต้องการในอนาคต
อย่างไรก็ตาม หากมีช่วงเวลาที่ รายรับน้อยกว่ารายจ่าย (เสาหลักที่ 1 ไม่แข็งแรงเท่าที่ควรในช่วงนั้น) จำเป็นต้องนำทรัพย์สินที่มีอยู่มาใช้จ่ายแทน (เสาหลักที่ 2 มาช่วยค้ำจุน) หรือ อีกทางเลือกหนึ่งคือการเป็นหนี้ เพื่อนำเงินมาใช้จ่ายล่วงหน้าไปก่อน
ทำให้เกิดเสาหลักที่ 3 คือการบริหารหนี้สิน ที่ต้องตระหนักว่าการสร้างหนี้แม้จะมีประโยชน์ในการนำมาใช้จ่ายเฉพาะหน้า หมายถึงว่าในอนาคตย่อมต้องมีช่วงเวลาที่มีรายรับมากกว่ารายจ่ายเพื่อให้มีเงินเหลือไปใช้หนี้
ทั้ง 3 เสาหลักนั้น มีปัจจัยที่สำคัญมากมาเกี่ยวข้อง คือ เวลา (สังเกตว่าเรามีการพูดถึงช่วงเวลากันเสมอ) เพราะ เมื่อเวลาเปลี่ยนแปลง องค์ประกอบของ ทั้ง 3 เสาหลัก อาจมีการเปลี่ยนแปลงหรือความไม่แน่นอนอยู่ เช่น
• รายรับ อาจจะเพิ่มขึ้นจากการเติบโต เปลี่ยนแปลง ทางการงาน หรืออาจจะขึ้นลงบางช่วงจากภาวะเศรษฐกิจและอาจจะมีรายจ่ายก้อนใหญ่ที่จำเป็นอย่างไม่คาดฝัน
• มูลค่าทรัพย์สินอาจจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างที่คาดไม่ถึง
• มูลค่าหนี้สิน มีโอกาสลดลงจากการชำระหนี้ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็เป็นได้ หรืออาจจะต้องมีการก่อหนี้เพิ่มขึ้นอีกด้วยความจำเป็นเสาหลักที่ 4 คือการบริหารจัดการความไม่แน่นอนต่างๆ เหล่านี้ให้มีผลกระทบต่อความแข็งแรงของเสาหลักทั้ง 3 น้อยที่สุด ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากที่จะนำไปสู่ความยั่งยืน เช่น พยายามทำให้รายรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เตรียมพร้อมสำหรับรายจ่ายที่ไม่คาดฝัน จัดสรรทรัพย์สินให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นตามที่คาดไว้ รีบชำระคืนหนี้ให้รวดเร็ว ไม่ก่อหนี้เพิ่มหากไม่จำเป็นจริงๆ เป็นต้น
แน่นอนว่า รายละเอียดของ 4 เสาหลัก ของแต่ละคน ย่อมแตกต่างกันไป เปรียบเสมือนความต้องการสร้างบ้านที่ไม่เหมือนกันบนเสาหลักทั้ง 4 ต้นนี้ ยกตัวอย่าง เช่น หลักการของผู้ที่ประสบความสำเร็จทางการเงิน ที่หลายๆคนเคยได้ยิน คือ
- พยายามทำให้รายรับมากกว่ารายจ่าย ตลอดเวลา ด้วยการขยันทำงาน เพิ่มรายรับ ประหยัดค่าใช้จ่าย
- เมื่อมีเงินเหลือ นำไปเก็บออมหรือเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินที่สามารถเข้าใจได้ ไม่จำเป็นต้องหาทรัพย์สินลงทุนที่ซับซ้อน
- ไม่พยายามสร้างหนี้หากไม่จำเป็น เมื่อต้องการใช้จ่ายมากกว่ารายรับ เช่น ซื้อของชิ้นใหญ่ จะพยายามเก็บออมจากรายรับที่มากกว่ารายจ่ายก่อน แล้วจึงนำเงินไปซื้อ
- บริหารความเสี่ยงด้วยการ เก็บออมในบัญชีเงินฝาก ให้ทรัพย์สินเพิ่มขึ้นทีละน้อย แต่แน่นอน เพื่อให้มั่นใจ ว่าในช่วงที่ไม่มีรายรับหรือมีรายรับที่น้อยลงแล้ว จะมีทรัพย์สินที่นำมาใช้เพียงพอ ไปจนสิ้นอายุขัย และยังมีโอกาสส่งต่อให้ทายาทอีกด้วย
ตัวอย่างแรกนี้แม้จะมีลักษณะไม่ซับซ้อน แต่ในการปฏิบัติจริงต้องใช้ความพยายามและระเบียบวินัยอย่างมาก จนกระทั่งมีหลายคนคิดว่า ไม่เหมาะกับตนเองหรือสถานการณ์ในปัจจุบัน ตัวอย่างนี้เปรียบเสมือนเป็นการสร้างบ้านที่อาจจะไม่ใหญ่โต แต่ก็มีความมั่นคง และก็อยู่ได้สบาย
เพื่อให้เห็นความแตกต่าง ขอยกตัวอย่างที่ 2 ซึ่งอาจจะจินตนาการได้ว่าเป็นรุ่นลูกของบุคคลในตัวอย่างแรก
- มีช่วงเวลาที่รายจ่ายมากกว่ารายรับ เป็นเวลาที่ยาวนาน ตั้งแต่เด็กจนถึงวัยทำงานโดยไม่เดือดร้อนนัก เนื่องจากมีทรัพย์สินจากรุ่นพ่อแม่จุนเจือนำมาใช้จ่ายได้ สถานการณ์เริ่มดีขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยทำงานและมีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
- เริ่มต้นจากการมีทรัพย์สินในรูปแบบของความสามารถ ความรู้ การศึกษา ที่ได้รับการส่งเสริมจากพ่อแม่ ส่วนทรัพย์สินอื่นที่สร้างเพิ่มเติมด้วยตนเองมาจากช่วงที่รายรับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากพื้นฐานการศึกษาและโอกาสที่มากกว่ารุ่นพ่อแม่
- มีการสร้างหนี้อย่างต่อเนื่องเนื่องจากความคุ้นเคยกับการใช้จ่ายที่มากกว่ารายรับ ตั้งแต่ในช่วงที่ตนเองยังไม่มีรายรับที่มากพอ โดยคาดหวังว่า จะมีรายรับที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในอนาคต มาชำระหนี้สินได้
- บริหารความไม่แน่นอนด้วยการพยายามเพิ่มเติมความสามารถตนเอง เพื่อสร้างโอกาสให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้นตามที่คาดหวัง พยายามไม่ให้รายจ่ายเพิ่มขึ้นเร็วเท่ารายรับ พิจารณาทางเลือกการบริหารทรัพย์สินให้มีโอกาสเพิ่มมูลค่า ให้เพียงพอกับความต้องการใช้จ่ายในอนาคต แม้ต้องเผชิญความไม่แน่นอนจากการลงทุน ก็พยายามเพิ่มความรู้ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ผนวกกับทรัพย์สินที่คงเหลือมาจากรุ่นพ่อแม่ ที่สามารถนำมาบริหารจัดการได้ในช่วงที่ความไม่แน่นอนเกิดขึ้น มีการใช้เครื่องมือบริหารความเสี่ยง เช่น การทำประกัน เพื่อลดความกังวลกับรายจ่ายที่ไม่แน่นอนในอนาคต
ตัวอย่างที่ 2 อาจเปรียบเทียบได้กับการสร้างบ้านที่ทันสมัย โดดเด่น น่าสนใจ บนเสาหลักที่ค่อยๆแข็งแรงขึ้นจากรากฐานที่ค่อนข้างดี ด้วยการใช้เครื่องมือที่ทันสมัย ความสามารถและประสบการณ์ ที่สูงของผู้ที่ออกแบบและก่อสร้าง
ผมเชื่อว่าทุกคนต่างสามารถสร้างความมั่งคั่งที่ยั่งยืนได้ ตามลักษณะที่เฉพาะตัวที่มีรายละเอียดแตกต่างกันออกไป แล้วแต่ความต้องการและองค์ประกอบที่มีอยู่ ด้วยความเข้าใจถึงความสำคัญของทั้ง 4 เสาหลัก การวิเคราะห์ว่าแต่ละเสาหลักมีโครงสร้างที่มั่นคงเพียงใด ต้องทำอย่างไรเพื่อเสริมความแข็งแรง เพื่อสร้างบ้านที่สวยงาม น่าอยู่ มั่นคง ปลอดภัย ถูกใจเจ้าของให้มากที่สุดครับ
-
ความเครียดทางการเงินในที่ทำงาน
ผลการสำรวจสุขภาพทางการเงินของพนักงานในองค์กรโดย PwC เมื่อปี 2023 ที่ผ่านมา จากพนักงานประจำ 3,638 คน ในประเทศอเมริกา พบว่ามีพนักงานถึง 60% ที่ต้องเผชิญกับความเครียดทางการเงิน ไม่เว้นแม้แต่ผู้ที่มีรายได้เกิน 100,000 ดอลลาร์ต่อปี (ประมาณ 3.5 ล้านบาทต่อปี) ที่เกือบครึ่งหนึ่ง (47%) ก็ยังกังวลในเรื่องการเงินเช่นเดียวกัน
ผลกระทบของความเครียดนี้ส่งผลต่อสุขภาพจิต การนอนหลับ และความมั่นใจในตนเอง แม้นายจ้างจะมีผู้ให้บริการวางแผนการเกษียณอายุให้คำแนะนำ พนักงานยังต้องการที่จะได้รับคำปรึกษาจากที่ปรึกษาทางการเงินที่เป็นกลางและไม่เกี่ยวข้องกับการขายผลิตภัณฑ์หรือแผนการเกษียณอายุของบริษัท
ความเครียดทางการเงินไม่ใช่เพียงแค่ปัญหาส่วนตัว แต่ยังส่งผลกระทบต่อสถานที่ทำงาน พนักงานที่มีความกังวลทางการเงินมักจะหลุดโฟกัสจากการทำงานมากขึ้น นำไปสู่การมีส่วนร่วมและผลผลิตในการทำงานที่ลดลง
หนึ่งในสามของพนักงานยอมรับว่าความกังวลเรื่องเงินได้ส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงานของพวกเขา พนักงานที่มีความเครียดทางการเงินมีโอกาสสูงมากกว่าปกติถึง 5 เท่า ที่จะถูกรบกวนจากปัญหาทางการเงินส่วนตัวในขณะทำงาน ซึ่งในจำนวนนี้มีมากถึง 56% ที่ใช้เวลาสามชั่วโมงหรือมากกว่าต่อสัปดาห์ในช่วงเวลาทำงานจัดการหรือคิดเกี่ยวกับปัญหาทางการเงินส่วนตัว ส่งผลให้มีเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่รู้สึกกระตือรือร้นในขณะทำงาน
แต่ยังมีข้อดีที่พบว่าส่วนใหญ่ของพนักงานกำลังมองหาคำแนะนำทางการเงินอย่างจริงจัง ประมาณ 74% มองหาคำปรึกษาเมื่อเผชิญกับการตัดสินใจทางการเงิน โดยมี 68% ที่ใช้บริการ โค้ชชิ่ง สัมมนา และเครื่องมือออนไลน์ที่นายจ้างให้บริการ
แม้ว่าข้อมูลนี้จะเป็นของพนักงานในประเทศอเมริกาเท่านั้น แต่ก็สะท้อนให้เห็นผลกระทบของความเครียดทางการเงินต่อสุขภาพและชีวิตการทำงานของพนักงาน ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์กับผู้เกี่ยวข้อง เช่น เจ้าของกิจการ ผู้บริหาร ได้ตระหนักถึงแนวทางที่จะดูแลพนักงานให้มีชีวิตที่ดีขึ้นและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ
เพื่อนๆ คิดว่าสอดคล้องกับบ้านเราหรือเปล่าครับ?
ข้อมูลจาก link นี้
-
RE: ประเมินความเสี่ยงและโอกาสเศรษฐกิจปี 2024 กันหน่อย...
@bonthr ขอบคุณอาจารย์บุญธรรม สำหรับบทความครับ ผมขอเก็บข้อมูลก่อน ถ้ามีความคิดเห็น หรือ คำถามจะมาโพสนะครับ ระหว่างนึ้ รอฟังท่านอื่นๆ เพิ่มเติมครับ
-
RE: ขอคำแนะนำออมเงินกับ กอช.
@betty ตามหลักการวางแผนการเงิน ควรออมเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับต้องการใช้เท่าไหร่ในอนาคตครับ
ซึ่งถ้าเรายังไม่ทราบแนะนำแบบนี้ครับ add line ของ กอช. @nsf.th
แล้วไปที่เมนูคำนวณบำนาญ
ระบบจะสอบถามอายุ
เราใส่ 45
ระบบถามเพิ่มว่าเลือกรูปแบบคำนวณเงินบำนาญ
เราเลือก บำนาญที่ต้องการได้รับ
ระบบให้เลือกรูปแบบการส่งเงินสะสม
เราเลือก รายเดือน
เมื่อระบบให้ระบุเงินบำนาญที่ต้องการได้รับต่อเดือน
เราใส่ตามที่เราต้องการไปก่อนนะครับ เช่น 10,000 บาท (หรือจะมากกว่าหรือน้อยกว่านั้นก็ได้ครับ แต่ผมขอใช้เป็นตัวเลขนี้ก่อน)ระบบจะคำนวณและแสดงขึ้นมาว่า
ส่งเงินออม 2,500 บาทต่อเดือน
นำส่งครบ 15 ปี (ตั้งแต่ 45 ถึง 60)
มียอดเงินในบัญชี 579,539 บาท
ได้รับเงินบำนาญเดือนละ 2,658 บาท ตลอดชีพอ้าว.... ทำไมไม่ได้ 10,000 บาทล่ะ???
เหตุผลเป็นแบบนี้ครับ
ด้วยการที่ กอช. กำหนดการส่งเงินสะสมสูงสุดไว้ที่ปีละ 30,000 บาท (เดือนละ 2,500 บาท) รวมกับเงินสมทบจากรัฐบาลสูงสุดปีละ ไม่เกิน 1,800 บาท
เมื่อรวมกับผลตอบแทนแล้ว (กรณีนี้คิดที่ 2.5% ต่อปี) ทำให้จำนวนเงินที่เราเก็บออมเพื่อกลับมาจ่ายเป็นบำนาญได้เดือนละ 2,658 บาท
จะเห็นได้ว่าระบบเสนอให้เราเก็บออมแบบสูงสุดไว้ก่อนเลยครับ เพราะว่าเราต้องการได้บำนาญเดือนละ 10,000 บาท ก็จริง ถ้าเราออมผ่าน กอช. ก็จะมีโอกาสได้เดือนละ 2,658 บาท แบบไม่ต้องไปเผชิญความเสี่ยงมาก แถมมีรัฐบาลช่วยออมด้วย ก็เป็นเรื่องที่ดีใช่มั้ยครับ
ซึ่งถ้าถามผมว่าควรออมผ่าน กอช. เท่าไหร่ ถ้าเป็นไปได้ แนะนำให้สูงสุดไปเลยครับ จะได้มีเงินใช้จำนวนหนึ่งค่อนข้างแน่นอน เทียบกับทางเลือกอื่นๆหากคุณ Betty ต้องการได้รับบำนาญมากกว่าเดือนละ 2,658 บาท ก็สามารถออมหรือลงทุนผ่านช่องทางอื่นเพิ่มเติม เช่น กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนรวมทั่วไป หรือ สินทรัพย์ลงทุนอื่นๆ ได้นะครับ เพียงแค่ว่า จะไม่มีคนมาช่วยสมทบให้เรา และ การรับเงินคืนจะไม่ได้เป็นการจ่ายแบบบำนาญครับ
-
RE: การลงทุน กอช เป็นยังไงครับ
ในฐานะนักวางแผนการเงิน ผมคิดว่าการออมอย่างเป็นระบบ เป็นพื้นฐานที่สำคัญมากของ การบรรลุเป้าหมายทางการเงิน เช่น การมีเงินใช้ยามเกษียณ
กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ช่วยเปิดโอกาสให้ประชาชนที่ไม่ได้อยู่ในระบบการออมภาคบังคับ (กองทุนชราภาพ ประกันสังคม) และ ภาคสมัครใจ (ภายในองค์กร เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ) ได้เข้าสู่โครงการเก็บออม ที่มีประโยชน์มากกว่าการเก็บออมปกติทั่วไป คือ- มีการสมทบเงินให้โดยภาครัฐ (มีจำนวนเงินสูงสุดกำหนดไว้)
- มีลักษณะการจ่ายเงินคืนกลับให้เมื่อครบกำหนดเป็นลักษณะบำนาญ ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ช่วยเอื้อให้การนำเงินมาใช้ในช่วงเกษียณมีความมั่นคงมากขึ้น (ไม่นำมาใช้จ่ายเยอะๆ หรือ หมดไปอย่างรวดเร็ว)
- มีการคุ้มครองผลตอบแทนไม่ต่ำกว่าเงินฝากประจำ ถือว่าเป็นการลดความเสี่ยงที่จะเงินออมเหล่านี้จะไปเผชิญกับการลงทุนทางเลือกอื่นๆ
ท่านที่มีคุณสมบัติตามที่ กอช. กำหนด ผมแนะนำว่า ควรเข้าร่วมเลยครับ ออมมากน้อยค่อยว่ากันตามกำลังและความตั้งใจ แต่โดยรวมแล้วได้ประโยชน์แน่นอนครับ
-
RE: การลงทุน กอช เป็นยังไงครับ
@Ekk-cccw คำถามน่าสนใจและมีเรื่องให้แชร์กันพอสมควรครับ ก่อนอื่น ขอเชิญ ผู้เชี่ยวชาญมาก่อน @tiantayach @soonsap @Dr-Krish-Sethanand ท่านอื่นๆที่ผมไม่ได้กล่าวถึง เชิญด้วยนะครับ
-
RE: การวางแผนเพื่อเก็บเงินเกษียณ 30 ล้านในวัย 60
@it-manager คำถามน่าสนใจและมีประเด็นให้พิจารณากันหลายเรื่องเลยครับ รวมถึง เรื่องชวนคิด ที่ อ.บุ๊ค @tiantayach พูดถึงด้วย
ผมขอให้ข้อมูลในเชิงตัวเลขก่อนนะครับ ถ้าลองคำนวณตามที่คุณพิฑูรย์ ให้ข้อมูลว่า การเริ่มออมผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เริ่มต้นจากปัจจุบันเดือนละ 10,000 บาท (รวมเงินสมทบจากนายจ้างแล้ว)
กำหนดให้อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนเฉลี่ยปีละ 10%
ผมขออนุญาตกำหนดตัวแปรที่สำคัญเพิ่มเติมคือ อัตราเพิ่มขึ้นของรายได้ ปีละ 5% ซึ่งจะส่งผลต่อเงินออมในแต่ละปีให้เพิ่มขึ้นตามด้วยเมื่อผ่านไป 28 ปี คุณพิฑูรย์อายุ 60 ปี เงินในกองทุนจะเพิ่มเป็น 25.2 ล้านครับ
เพราะฉะนั้นถ้าเราต้องการ 30 ล้าน ต้องปรับสมมติฐานบางตัว เช่น หากอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี เพิ่มขึ้นเป็น 11.5% เงินในกองทุนจะกลายเป็น 31.7 ล้าน หรือ หากอัตราการเพิ่มขึ้นของรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 7% (ด้วยอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน 10% เท่าเดิม) กองทุนจะกลายเป็น 31.09 ล้านครับ
อย่างไรก็ตาม มีอีกหลายปัจจัยที่ไม่แน่นอนครับ และต้องพิจารณา ผมขออนุญาตให้ข้อมูลเบื้องต้นแค่นี้ก่อนนะครับ รอท่านอื่นๆด้วย
-
RE: สงสัยเกี่ยวกับ Unit Linked ใครมีประสบการณ์บ้างมั้ยครับมาแชร์กัน
Unit Linked เป็นผลิตภัณฑ์ประกันที่ออกแบบมาให้ปรับเปลี่ยนตามผู้ทำประกันได้หลายแง่มุมครับ แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับข้อจำกัดของผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอโดยแต่ละบริษัทด้วย
อย่างไรก็ตามถ้าพูดเป็นการทั่วไป Unit Linked ออกแบบให้ ผู้ทำประกันสามารถเลือกทุนประกันได้สูงเทียบกับเบี้ยประกันที่จ่าย ซึ่งก็จะตามมาด้วย ต้นทุนสำหรับค่าความคุ้มครองนั้น (หรือ Cost of Insurance) ที่สูงขึ้น ส่งผลให้ในแต่ละปีที่ผู้ทำประกันจ่ายเบี้ยไป เงินที่ถูกหักออกไป เพื่อทำหน้าที่ให้ได้ความคุ้มครองชีวิตที่สูงตามทุนประกันที่เราเลือกไว้ ก็จะเพิ่มขึ้นตาม ทำให้เงินส่วนที่เหลือ หลังจากหักค่าธรรมเนียมอื่นๆ แล้ว ลดลง
เงินส่วนที่เหลือหลังจากหัก Cost of Insurance และ ค่าธรรมเนียมต่างๆ สามารถสร้างผลตอบแทนให้ผู้ทำประกันได้ ซึ่งหากเป็นประกันแบบดั้งเดิม เงินส่วนนี้จะถูกนำไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงต่ำ (เช่น พันธบัตรรัฐบาล) โดยบริษัทประกันจะดำเนินการให้สอดคล้องตามข้อกำหนดของ คปภ และเมื่อได้ผลตอบแทน ก็จะสามารถนำไปเป็นเงินคืนรายงวด รวมถึงสะสมไว้ เพื่อจ่ายให้กับผู้ทำประกันเมื่อครบสัญญา
สำหรับ Unit Linked เงินส่วนนี้ ผู้ทำประกันสามารถเลือกได้ว่าจะไปลงทุนในกองทุนรวมใด ซึ่งทำให้ตอบโจทย์ผู้ทำประกันมากขึ้น เช่น ถ้ารับความเสี่ยงได้สูง ก็สามารถเลือกลงทุนในกองทุนรวมหุ้นได้
ถ้าคิดในมุมนี้ จะเห็นว่า Unit Liked ให้อิสระกับผู้ทำประกันมากกว่า การทำประกันแบบดั้งเดิม เช่น ถ้าต้องการเป็นแบบเสี่ยงต่ำคล้ายกับประกันแบบดั้งเดิมก็เลือกกองทุนเสี่ยงต่ำ ถ้าพร้อมเผชิญความผันผวน ก็เลือกกองทุน หรือ จัดพอร์ตแบบเสี่ยงสูงได้
แต่ถ้านำ Unit Linked ไปเทียบกับการลงทุน ก็จะเห็นว่า Unit Linked มีค่าใช้จ่ายหลายอย่าง ก่อนที่จะเหลือเงินไปลงทุน ซึ่งเป็นปกติของผลิตภัณฑ์ประกันที่จะมีค่าใช้จ่ายเหล่านี้เป็นปกติอยู่แล้ว จึงอาจจะเปรียบเทียบได้ยาก (หรือเปรียบเทียบไป ก็จะสู้ไปลงทุนโดยตรงไม่ได้)ผมจึงขออนุญาตให้ความเห็นว่า ให้พิจารณา โดยใช้งบประมาณที่มีสำหรับการทำประกันอยู่แล้ว (ซึ่งโดยปกติจะไม่มากเท่างบประมาณสำหรับลงทุน เพราะการทำประกันเป็นการบริหารความเสี่ยง มากกว่าการสร้างผลตอบแทน) มาประเมินว่า หากเลือกเป็น Unit Linked จะตอบโจทย์กว่า ทำประกันแบบอื่นหรือไม่ โดยไม่ต้องนำไปเทียบกับการนำเงินไปลงทุนในรูปแบบอื่นๆ
เมื่อในส่วนของประกันตัดสินใจได้แล้ว เราค่อยไปวางแผนลงทุนในงบประมาณหรือเป้าหมายอื่นสำหรับการลงทุนต่างหากครับเพื่อนๆ และผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ มีความคิดเห็นเพิ่มเติม เสนอแนวคิด หรือ update ข้อมูลเงื่อนไขต่างๆ ในปัจจุบัน ที่อาจจะปรับเปลี่ยนไปตามแต่ละบริษัทประกัน เรียนเชิญนะครับ จะได้เป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายครับ
-
RE: ถ้าได้เป็นนักวางแผนการเงิน CFP หรือที่ปรึกษาการเงิน AFPT จะทำงานที่ไหนได้บ้าง ?
@PT_888 ปัจจุบันนี้ เท่าที่ผมมีประสบการณ์โดยตรง สถาบันการเงิน มีความต้องการ CFP, AFPT อยู่พอสมควรเลยครับ เช่น ธนาคาร บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทประกัน และ บริษัทที่ให้บริการวางแผนการเงินหรือเป็นที่ปรึกษาทางการเงินแบบอิสระ (กลุ่มนี้อาจจะค่อนข้างใหม่แต่ก็มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆครับ)
ซึ่งแต่ละที่อาจจะมีรายละเอียดของลักษณะงานที่แตกต่างกันออกไปบ้างนะครับ ต้องสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานตำแหน่งต่างๆ แนะนำให้ติดตามข่าวสารจากสถาบันการเงินเหล่านี้ หรือ ติดต่อไปถามกับฝ่ายบุคคลของสถาบันการเงินดูได้ครับ -
RE: เครดิตภาษีเงินปันผล
ที่มาของการทำเครดิตภาษีเงินปันผล คือ
เงินปันผลที่เราได้รับจากบริษัทนั้น โดยปกติ บริษัทจะต้องเสียภาษีนิติบุคคลมาก่อนที่จะจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น เช่น หากบริษัทมีกำไรสุทธิ 100 บาท หากต้องเสียภาษีนิติบุคคล 20% ก็จะเหลือกำไรสุทธิหลักหักภาษี 100 - 20 (20% ของ 100) = 80 บาท
เมื่อนำกำไรนั้นมาจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย อีก 10% ก็จะเหลือ 80 - 8 (10% ของ 80) = 72 บาท
จะเห็นได้ว่ากว่าเงินปันผลจะถึงมือผู้ถือหุ้น กำไรของบริษัทนั้นมีการเสียภาษีไปแล้ว 2 รอบ คือ 20 บาท และ 8 บาท รวมเป็น 28 บาท
กรมสรรพากรจึงอนุญาตให้ผู้เสียภาษีสามารถทำเครดิตภาษีเงินปันผลได้ โดย การนำภาษีทั้ง 2 ส่วน (ในตัวอย่างนี้ คือ 20 บาท และ 8 บาท) กลับมารวมให้เป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีครั้งเดียว ตามฐานภาษีของผู้เสียภาษีนั้น โดยจะต้องนำไปรวมกับรายได้ประเภทอื่นๆ ด้วย
จากตัวอย่างนี้ เงินจำนวน 20 บาท ถูกเรียกว่า เครดิตภาษีเงินปันผล (หมายถึง เงินที่นำกลับมา จากภาษีที่ถูกเก็บไปก่อนในรอบแรก) ไม่เกี่ยวกับ 8 บาท ที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้ในรอบที่ 2 (ก้อนนี้จะเรียกว่า ภาษี หัก ณ ที่จ่าย) นะครับ
สังเกตได้ว่า ตามตัวอย่างนี้ หากผู้ถือหุ้น ไม่ทำเครดิตภาษีเงินปันผล คือ ยอมให้มีการหัก ณ ที่จ่าย 10% หมายถึง ภาษีถูกเรียกเก็บไป 2 รอบ เป็นจำนวนเงิน 28 บาท จากกำไรทั้งหมด 100 บาท หรือคิดเป็น 28%
เพราะฉะนั้น หากผู้ถือหุ้น นำ 28% กลับมาคิดภาษีใหม่ แล้วฐานภาษีต่ำกว่า 28% ย่อมทำให้ มีโอกาสประหยัดภาษี หรือ ได้เงินคืนกลับมา
อย่างไรก็ตาม การคำนวณ อาจจะมีความซับซ้อนได้ เพื่อให้มั่นใจว่า การทำเครดิตภาษีเงินปันผล เป็นผลดีต่อผูุ้ถือหุ้น แนะนำให้ ทดลองใช้โปรแกรมของกรมสรรพากร (หรือ application ที่ช่วยในการคำนวณภาษี เช่น itax) คำนวณภาษี ในกรณีที่เราทำ และ ไม่ทำ เครดิตภาษีเงินปันผล ดูว่า ทางเลือกใดประหยัดกว่ากันครับ