@betty ตามหลักการวางแผนการเงิน ควรออมเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับต้องการใช้เท่าไหร่ในอนาคตครับ 😊
ซึ่งถ้าเรายังไม่ทราบแนะนำแบบนี้ครับ add line ของ กอช. @nsf.th
แล้วไปที่เมนูคำนวณบำนาญ
ระบบจะสอบถามอายุ
เราใส่ 45
ระบบถามเพิ่มว่าเลือกรูปแบบคำนวณเงินบำนาญ
เราเลือก บำนาญที่ต้องการได้รับ
ระบบให้เลือกรูปแบบการส่งเงินสะสม
เราเลือก รายเดือน
เมื่อระบบให้ระบุเงินบำนาญที่ต้องการได้รับต่อเดือน
เราใส่ตามที่เราต้องการไปก่อนนะครับ เช่น 10,000 บาท (หรือจะมากกว่าหรือน้อยกว่านั้นก็ได้ครับ แต่ผมขอใช้เป็นตัวเลขนี้ก่อน)
ระบบจะคำนวณและแสดงขึ้นมาว่า
ส่งเงินออม 2,500 บาทต่อเดือน
นำส่งครบ 15 ปี (ตั้งแต่ 45 ถึง 60)
มียอดเงินในบัญชี 579,539 บาท
ได้รับเงินบำนาญเดือนละ 2,658 บาท ตลอดชีพ
อ้าว.... ทำไมไม่ได้ 10,000 บาทล่ะ???
เหตุผลเป็นแบบนี้ครับ
ด้วยการที่ กอช. กำหนดการส่งเงินสะสมสูงสุดไว้ที่ปีละ 30,000 บาท (เดือนละ 2,500 บาท) รวมกับเงินสมทบจากรัฐบาลสูงสุดปีละ ไม่เกิน 1,800 บาท
เมื่อรวมกับผลตอบแทนแล้ว (กรณีนี้คิดที่ 2.5% ต่อปี) ทำให้จำนวนเงินที่เราเก็บออมเพื่อกลับมาจ่ายเป็นบำนาญได้เดือนละ 2,658 บาท
จะเห็นได้ว่าระบบเสนอให้เราเก็บออมแบบสูงสุดไว้ก่อนเลยครับ เพราะว่าเราต้องการได้บำนาญเดือนละ 10,000 บาท ก็จริง ถ้าเราออมผ่าน กอช. ก็จะมีโอกาสได้เดือนละ 2,658 บาท แบบไม่ต้องไปเผชิญความเสี่ยงมาก แถมมีรัฐบาลช่วยออมด้วย ก็เป็นเรื่องที่ดีใช่มั้ยครับ
ซึ่งถ้าถามผมว่าควรออมผ่าน กอช. เท่าไหร่ ถ้าเป็นไปได้ แนะนำให้สูงสุดไปเลยครับ จะได้มีเงินใช้จำนวนหนึ่งค่อนข้างแน่นอน เทียบกับทางเลือกอื่นๆ
หากคุณ Betty ต้องการได้รับบำนาญมากกว่าเดือนละ 2,658 บาท ก็สามารถออมหรือลงทุนผ่านช่องทางอื่นเพิ่มเติม เช่น กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนรวมทั่วไป หรือ สินทรัพย์ลงทุนอื่นๆ ได้นะครับ เพียงแค่ว่า จะไม่มีคนมาช่วยสมทบให้เรา และ การรับเงินคืนจะไม่ได้เป็นการจ่ายแบบบำนาญครับ