@admin เงินเฟ้อ เกิดจากปริมาณเงินในระบบ ส่วนดอกเบี้ยเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดโดยคนครับ
ดังนั้น มันอาจไม่ได้สัมพันธ์กันและปรับเปลี่ยนกันโดยอัตโนมัติ
แต่คน (ธนาคารกลาง) จะปรับอัตราดอกเบี้ย เพื่อให้สอดคล้องกับเงินเฟ้อ
เช่น พอมีอัตราเงินเฟ้อที่สูงเกินควร ธนาคารกลางของประเทศนั้นๆก็จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อดึงเงินออกจากระบบ เพราะพอดอกเบี้ยขึ้น เงินก็จะออกจากระบบ ไหลเข้าไปเก็บในธนาคารมากขึ้น และเงินออกจากธนาคารด้วยการกู้ไปเข้าในระบบก็จะน้อยลง เพราะต้นทุนดอกเบี้ยมันสูง
พอเงินในระบบลดลง อัตราเงินเฟ้อก็ปรับลดลงตาม
DrKrish
@DrKrish
โพสต์ดีที่สุดที่ถูกสร้างโดย DrKrish
-
RE: เงินเฟ้อ กับ อัตราดอกเบี้ย
-
RE: ถ้ามีลูก ควรทำประกันแบบไหนดีคะ
@cecilice คนมีลูก แบ่งเป็นทำประกันชีวิตของตัวเอง เพื่อให้มีเงินในการเลี้ยงดูลูกต่อไป หากเราเสียชีวิตก่อนวัยอันควรครับ
และอีกอย่างคือทำประกันสุขภาพให้ลูก ถ้าเป็นค่ารักษาพยาบาลใน รพ. ก็จะมีเบี้ยที่สูงช่วงที่อายุไม่เกิน 10 ขวบ
แต่ถ้าเป็นการคุ้มครองโรคร้ายแรง ก็สามารถเลือกทำได้ตั้งแต่เด็กเพราะเบี้ยถูกครับ อาจทำแบบที่คุ้มครองระยะยาว+ออมเงินไปด้วย เป็นต้นครับ -
RE: บัตรเครดิตจำเป็นที่จะต้องมีมั้ย?
@Jiraporn บัตรเครดิตมีประโยชน์เยอะมากครับ หากใช้รูดโดยที่เรามีเงินในธนาคารพร้อมจ่ายยอดชำระบัตรเสมอ
สามารถใช้สิทธิประโยชน์ต่างๆได้เยอะมาก
แต่ถ้าเอาบัตรเครดิตมารูดใช้แบบเอาเงินในอนาคตมาใช้ นั่นจะเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาทางการเงินทั้งหมดครับ
ดังนั้น อยู่ที่นิสัยและความรอบคอบในการใช้เงินของแต่ละคนครับ
แต่ถ้าไม่แน่ใจในตัวเอง แนะนำว่าอย่าทำบัตรเครดิตครับ -
RE: CFP M2 เทียบกับ IC
@T_Anonymous M2 อาจจะมีเนื้อหาครอบคลุมกว้างกว่าการสอบ IC เพราะเป็นเรื่องของการวางแผนการลงทุนซึ่งจะรวมไปถึงแนวทางในการทำ asset allocation ด้วย
อย่างไรก็ตาม ควรอ่านหนังสือสำหรับการสอบ IC โดยเฉพาะด้วยครับ เพราะจะได้โฟกัสในเนื้อหาที่จำเป็นจะต้องสอบมากกว่า -
RE: เราควรจ่ายเงินซื้อประกันมากแค่ไหนถ้าเทียบกับสัดส่วนรายได้ใน 1 ปี
@T_Anonymous ถ้าเอาตามหลักการคือประมาณ 5-10% ของรายได้ต่อปีครับ ก็คือประมาณ 50,000-100,000 บาท จากรายได้ต่อปี 1,000,000 บาท
อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยอื่นๆที่ต้องพิจารณาร่วมด้วย เช่นความคุ้มครองที่ต้องการ ความสำคัญของประกันที่คุ้มครองเนื่องนั้นๆ ความยืดหยุ่นของประกันในการปรับเปลี่ยนในอนาคต และโครงสร้างรายได้ของแต่ละคนในระยะยาว รวมถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างรายได้ในอนาคต
ดังนั้น หลักการ 5-10% อาจเป็นแค่หลักในเชิงของการแนะนำแบบทั่วๆไป
แต่เวลาทำประกันจริงๆ อาจจะต้องพิจารณาหลายๆด้านร่วมกัน ทำให้ไม่อยู่ในหลัก 5-10% ก็เป็นไปได้ครับ -
RE: ทำไมประกันชีวิตถึงสำคัญสำหรับการวางแผนการเงินระยะยาว
@Raksinaporn ถ้าแยกเป็นประกันชีวิตและประกันสุขภาพ
ประกันชีวิต จะทำไว้เพื่อรองรับความเสี่ยงส่วนบุคคล ที่จะมีผลกระทบกับแผนการเงินที่ทำเพื่อครอบครัวครับ เช่น ชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัว การศึกษาบุตร แผนมรดก เป็นต้น
ส่วนประกันสุขภาพ จะทำไว้เพื่อรองรับความเสี่ยงส่วนบุคคล ที่จะมีผลกระทบกับแผนการเงินสำหรับตนเอง และครอบครัวด้วยเช่นกัน เช่น แผนการเกษียณ แผนการเงินในด้านต่างๆที่ต้องการซึ่งประกัน เป็นเครื่องมือเดียวที่ใช้ในการบริหารจัดการเรื่องความเสี่ยงส่วนบุคคล โดยมีค่าใช้จ่ายคือเบี้ยประกันนั่ยเองครับ
โดยส่วนของประกันสุขภาพพื้นฐานที่ประชาชนมีรองรับอยู่คือ ประกันสังคม หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สวัสดิการข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ
นอกเหนือจากนั้นก็เป็นประกันที่เราซื้อเองทั่วไป
รวมถึงประกันวินาศภัยต่างๆที่คุ้มครองทรัพย์สินถ้าเราไม่มีการวางแผนประกันที่ครอบคลุมเพียงพอ
โอกาสที่เราจะเจอกับเหตุไม่คาดคิด จากความเสี่ยงส่วนบุคคล แล้วจะทำให้แผนการเงินอื่นๆที่เราสร้างมานั้นประสบปัญหาได้ เนื่องจากเกิดค่าใช้จ่ายที่เราไม่สามารถควบคุมได้มาเป็นปัจจัยสำคัญที่กระทบต่อแผนทั้งหมด -
RE: การลงทุน กอช เป็นยังไงครับ
@Ekk-cccw ถ้าให้มุมมองอย่างง่ายคือ ปกติแล้ว นอกจากสวัสดิการที่รัฐจัดให้ประชาชน ทางรัฐก็จะสนับสนุนให้คนมีการออมด้วยตัวเองผ่านเครื่องมือต่างๆด้วยครับ ซึ่งเงินออมนี้ก็จะคืนกลับมาให้ใช้ในรูปแบบต่างๆช่วงเกษียณ
คนที่เป็นข้าราชการ มีสวัสดิการบำนาญ แต่ก็จะมี กบข. ด้วย
คนที่เป็นพนักงานบริษัทเอกชน นอกจากเข้าระบบประกันสังคม ก็มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้บริษัทเอกชนเพิ่มเป็นทางเลือกให้พนักงานเก็บออม
ส่วนคนทำอาชีพอื่นที่ไม่ได้อยู่ในระบบข้าราชการและไม่ได้เป็นพนักงานบริษัทเอกชน ทางภาครัฐก็จะมี กอช. เป็นทางเลือกให้เข้าร่วมเพื่อเก็บออม ซึ่งก็จะเน้นไปที่กลุ่มผู้ที่มีรายได้ไม่สูงมากนัก
ดังนั้น จุดประสงค์หลักคือการเก็บออมอย่างเป็นระบบโดยมีภาครัฐช่วยสมทบครับ
โพสต์ล่าสุดที่เขียนโดย DrKrish
-
RE: การลงทุน กอช เป็นยังไงครับ
@Ekk-cccw ถ้าให้มุมมองอย่างง่ายคือ ปกติแล้ว นอกจากสวัสดิการที่รัฐจัดให้ประชาชน ทางรัฐก็จะสนับสนุนให้คนมีการออมด้วยตัวเองผ่านเครื่องมือต่างๆด้วยครับ ซึ่งเงินออมนี้ก็จะคืนกลับมาให้ใช้ในรูปแบบต่างๆช่วงเกษียณ
คนที่เป็นข้าราชการ มีสวัสดิการบำนาญ แต่ก็จะมี กบข. ด้วย
คนที่เป็นพนักงานบริษัทเอกชน นอกจากเข้าระบบประกันสังคม ก็มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้บริษัทเอกชนเพิ่มเป็นทางเลือกให้พนักงานเก็บออม
ส่วนคนทำอาชีพอื่นที่ไม่ได้อยู่ในระบบข้าราชการและไม่ได้เป็นพนักงานบริษัทเอกชน ทางภาครัฐก็จะมี กอช. เป็นทางเลือกให้เข้าร่วมเพื่อเก็บออม ซึ่งก็จะเน้นไปที่กลุ่มผู้ที่มีรายได้ไม่สูงมากนัก
ดังนั้น จุดประสงค์หลักคือการเก็บออมอย่างเป็นระบบโดยมีภาครัฐช่วยสมทบครับ -
RE: ถ้ามีลูก ควรทำประกันแบบไหนดีคะ
@cecilice คนมีลูก แบ่งเป็นทำประกันชีวิตของตัวเอง เพื่อให้มีเงินในการเลี้ยงดูลูกต่อไป หากเราเสียชีวิตก่อนวัยอันควรครับ
และอีกอย่างคือทำประกันสุขภาพให้ลูก ถ้าเป็นค่ารักษาพยาบาลใน รพ. ก็จะมีเบี้ยที่สูงช่วงที่อายุไม่เกิน 10 ขวบ
แต่ถ้าเป็นการคุ้มครองโรคร้ายแรง ก็สามารถเลือกทำได้ตั้งแต่เด็กเพราะเบี้ยถูกครับ อาจทำแบบที่คุ้มครองระยะยาว+ออมเงินไปด้วย เป็นต้นครับ -
RE: เราควรจ่ายเงินซื้อประกันมากแค่ไหนถ้าเทียบกับสัดส่วนรายได้ใน 1 ปี
@T_Anonymous ถ้าเอาตามหลักการคือประมาณ 5-10% ของรายได้ต่อปีครับ ก็คือประมาณ 50,000-100,000 บาท จากรายได้ต่อปี 1,000,000 บาท
อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยอื่นๆที่ต้องพิจารณาร่วมด้วย เช่นความคุ้มครองที่ต้องการ ความสำคัญของประกันที่คุ้มครองเนื่องนั้นๆ ความยืดหยุ่นของประกันในการปรับเปลี่ยนในอนาคต และโครงสร้างรายได้ของแต่ละคนในระยะยาว รวมถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างรายได้ในอนาคต
ดังนั้น หลักการ 5-10% อาจเป็นแค่หลักในเชิงของการแนะนำแบบทั่วๆไป
แต่เวลาทำประกันจริงๆ อาจจะต้องพิจารณาหลายๆด้านร่วมกัน ทำให้ไม่อยู่ในหลัก 5-10% ก็เป็นไปได้ครับ -
RE: ทำไมประกันชีวิตถึงสำคัญสำหรับการวางแผนการเงินระยะยาว
@Raksinaporn ถ้าแยกเป็นประกันชีวิตและประกันสุขภาพ
ประกันชีวิต จะทำไว้เพื่อรองรับความเสี่ยงส่วนบุคคล ที่จะมีผลกระทบกับแผนการเงินที่ทำเพื่อครอบครัวครับ เช่น ชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัว การศึกษาบุตร แผนมรดก เป็นต้น
ส่วนประกันสุขภาพ จะทำไว้เพื่อรองรับความเสี่ยงส่วนบุคคล ที่จะมีผลกระทบกับแผนการเงินสำหรับตนเอง และครอบครัวด้วยเช่นกัน เช่น แผนการเกษียณ แผนการเงินในด้านต่างๆที่ต้องการซึ่งประกัน เป็นเครื่องมือเดียวที่ใช้ในการบริหารจัดการเรื่องความเสี่ยงส่วนบุคคล โดยมีค่าใช้จ่ายคือเบี้ยประกันนั่ยเองครับ
โดยส่วนของประกันสุขภาพพื้นฐานที่ประชาชนมีรองรับอยู่คือ ประกันสังคม หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สวัสดิการข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ
นอกเหนือจากนั้นก็เป็นประกันที่เราซื้อเองทั่วไป
รวมถึงประกันวินาศภัยต่างๆที่คุ้มครองทรัพย์สินถ้าเราไม่มีการวางแผนประกันที่ครอบคลุมเพียงพอ
โอกาสที่เราจะเจอกับเหตุไม่คาดคิด จากความเสี่ยงส่วนบุคคล แล้วจะทำให้แผนการเงินอื่นๆที่เราสร้างมานั้นประสบปัญหาได้ เนื่องจากเกิดค่าใช้จ่ายที่เราไม่สามารถควบคุมได้มาเป็นปัจจัยสำคัญที่กระทบต่อแผนทั้งหมด -
RE: บัตรเครดิตจำเป็นที่จะต้องมีมั้ย?
@Jiraporn บัตรเครดิตมีประโยชน์เยอะมากครับ หากใช้รูดโดยที่เรามีเงินในธนาคารพร้อมจ่ายยอดชำระบัตรเสมอ
สามารถใช้สิทธิประโยชน์ต่างๆได้เยอะมาก
แต่ถ้าเอาบัตรเครดิตมารูดใช้แบบเอาเงินในอนาคตมาใช้ นั่นจะเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาทางการเงินทั้งหมดครับ
ดังนั้น อยู่ที่นิสัยและความรอบคอบในการใช้เงินของแต่ละคนครับ
แต่ถ้าไม่แน่ใจในตัวเอง แนะนำว่าอย่าทำบัตรเครดิตครับ -
RE: เงินเฟ้อ กับ อัตราดอกเบี้ย
@admin เงินเฟ้อ เกิดจากปริมาณเงินในระบบ ส่วนดอกเบี้ยเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดโดยคนครับ
ดังนั้น มันอาจไม่ได้สัมพันธ์กันและปรับเปลี่ยนกันโดยอัตโนมัติ
แต่คน (ธนาคารกลาง) จะปรับอัตราดอกเบี้ย เพื่อให้สอดคล้องกับเงินเฟ้อ
เช่น พอมีอัตราเงินเฟ้อที่สูงเกินควร ธนาคารกลางของประเทศนั้นๆก็จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อดึงเงินออกจากระบบ เพราะพอดอกเบี้ยขึ้น เงินก็จะออกจากระบบ ไหลเข้าไปเก็บในธนาคารมากขึ้น และเงินออกจากธนาคารด้วยการกู้ไปเข้าในระบบก็จะน้อยลง เพราะต้นทุนดอกเบี้ยมันสูง
พอเงินในระบบลดลง อัตราเงินเฟ้อก็ปรับลดลงตาม -
RE: CFP M2 เทียบกับ IC
@T_Anonymous M2 อาจจะมีเนื้อหาครอบคลุมกว้างกว่าการสอบ IC เพราะเป็นเรื่องของการวางแผนการลงทุนซึ่งจะรวมไปถึงแนวทางในการทำ asset allocation ด้วย
อย่างไรก็ตาม ควรอ่านหนังสือสำหรับการสอบ IC โดยเฉพาะด้วยครับ เพราะจะได้โฟกัสในเนื้อหาที่จำเป็นจะต้องสอบมากกว่า