@Bananaheadteam ขอขยายความเพิ่มเติมเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นครับ นักลงทุนส่วนมากสนใจอัตราการเติบโตของ GDP เพราะว่า ยิ่ง GDP เติบโต หมายความว่า เศรษฐกิจโดยรวมเติบโต ทำให้บริษัทจดทะเบียนมีแนวโน้ม กำไรสุทธิเติบโตด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งส่งผลให้ระยะยาวตลาดหุ้นโดยรวมมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น แต่ความถูกแพงของดัชนีตลาดหุ้นก็สำคัญ ยิ่งลงทุนตอนราคาถูก ความเสี่ยงโดยรวมจะน้อยกว่า
โพสต์ที่เขียนโดย Tom89
-
RE: การลงทุนในประเทศอาเซียน
-
RE: การลงทุนในประเทศอาเซียน
@Bananaheadteam แนะนำให้ลองเปรียบเทียบอัตราการเติบโตของ GDP ที่ผ่านมารวมถึงที่คาดการณ์, ความถูกความแพงของดัชนีตลาดหุ้น, สถานะความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศทั้งหมดในอาเซียน เพื่อที่จะได้เห็นภาพว่าประเทศไหนน่าสนใจครับ
-
RE: ประเมินความเสี่ยงและโอกาสเศรษฐกิจปี 2024 กันหน่อย...
@bonthr ผมมองว่าจีนเป็นประเทศที่ต้องระมัดระวังเรื่องของ Regulatory Risks เช่นการที่ภาครัฐมีการออกนโยบายต่าง ๆ เพื่อควมคุมธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่นที่ผ่านมา มีทั้งอุตสาหกรรมเทคโนโลยี อุตสาหกรรมการศึกษา รวมถึงการที่นโยบายภาครัฐก่อนหน้านี้อาจจะไม่ได้เป็นมิตรกับตลาดทุนมากนักครับผม ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ครับ
-
RE: ราคาทองคำที่พุ่งสูงในปีนี้ มันคือความเสี่ยงหรือโอกาสที่ควรลงทุน ?
ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ประเมินมูลค่าได้ยาก เนื่องจากไม่ได้มีการสร้างกระแสเงินสดให้กับนักลงทุน แตกต่างจากหุ้น ซึ่งมีปันผล หรือตราสารหนี้ ซึ่งมีดอกเบี้ย ซึ่งเป็นการสร้างกระแสเงินสดให้กับนักลงทุน จึงประเมินมูลค่าได้ง่ายกว่า ดังนั้นจึงสังเกตเห็นได้ว่าเวลาผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน แนะนำการจัดสรรสินทรัพย์ลงทุน โดยทั่วไปจะมีทองคำเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างน้อยหรืออาจไม่มีเลย มีปัจจัยมากมายที่มีผลกระทบกับราคาทองคำ ทองคำอาจจะช่วยเป็นเครื่องมือในการกระจายความเสี่ยง เนื่องจากจะสังเกตเห็นได้ว่าราคาทองคำมักเคลื่อนไหวสวนทางกับราคาหุ้น และเวลาที่ผู้คนไม่มั่นใจในการถือเงินสด เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่สูง หรือ อยู่ในสถานการณ์ที่มีสงคราม อาจมีความต้องการที่จะถือทองคำแทนมากขึ้น
-
RE: เงินเฟ้อ กับ อัตราดอกเบี้ย
@admin ขอขยายความเพิ่มเติมอีกนิดนึงครับ กรณีถ้าเศรษฐกิจตกต่ำ ผู้คนไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย ราคาสินค้าลดลง เงินเฟ้อลดลง ธนาคารกลางจะลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ พอดอกเบี้ยลดลง ผู้คนมีภาระหนี้สินจากดอกเบี้ยจ่ายลดลง นักธุรกิจกล้ากู้เงินมาลงทุนมากขึ้น เกิดการจ้างงาน เศรษฐกิจจะค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้น พร้อม ๆ กับเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้น
-
RE: เงินเฟ้อ กับ อัตราดอกเบี้ย
เมื่อเศรษฐกิจร้อนแรงจนเกินไป ผู้คนกล้าจับจ่ายใช้สอยจนข้าวของสินค้าต่าง ๆ ราคาปรับตัวสูงขึ้น ธนาคารกลางอาจจะใช้นโยบายการเพิ่มอัตราดอกเบี้ย เมื่ออัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ผู้คนจึงนำเงินมาฝากธนาคารมากขึ้น เนื่องจากอัตราผลตอบแทนมากขึ้น รวมถึงอาจจะระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น เนื่องจากภาระดอกเบี้ยจ่ายจากหนี้สินอาจเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงส่งผลให้การจับจ่ายใช้สอยโดยรวมลดลง สภาวะเงินเฟ้อจึงค่อย ๆ บรรเทาลง เศรษฐกิจค่อย ๆ ลดความร้อนแรงลง
-
RE: ทำไมประกันชีวิตถึงสำคัญสำหรับการวางแผนการเงินระยะยาว
@Raksinaporn เพราะว่าชีวิตของคนเรานั้นมีความไม่แน่นอนครับ ตัวอย่างเช่น สมมติว่าเรามีครอบครัว มีลูกที่ต้องดูแล ภรรยาเป็นแม่บ้าน เราเป็นคนหารายได้คนเดียว และมีเป้าหมายเก็บเงินเป็นทุนการศึกษาให้ลูกเรียนจนจบ ป.ตรี หากเราเป็นอะไรไป ครอบครัวก็เดือดร้อน เพราะแหล่งรายได้หายไป ต้องนำเงินเก็บหรือความมั่งคั่งที่สะสมไว้มาใช้จนอาจจะไม่มีเงินส่งลูกเรียนต่อ ดังนั้นการทำประกันชีวิตเป็นการป้องกันรักษาความมั่งคั่งวิธีหนึ่งครับที่นิยมมาก ๆ สำหรับยุคปัจจุบัน
-
RE: รายย่อยซื้อขายหุ้นกู้
@curious หุ้นกู้และพันธบัตรนั้น นักลงทุนรายย่อยก็สามารถจองซื้อได้เช่นเดียวกันครับ โดยเราอาจจะต้องคอยติดตามข่าวว่าช่วงไหนบริษัทจะมีการออกหุ้นกู้บ้างเป็นระยะ ๆ อาจจะติดต่อถามข้อมูลจากธนาคารได้ แต่สิ่งที่สำคัญคือสภาพคล่องจะต่ำกว่าหุ้นสามัญมาก หุ้นสามัญนั้นสามารถซื้อขายได้ค่อนข้างง่ายเนื่องจากสภาพคล่องสูงกว่า ดังนั้นเรื่องสภาพคล่องจึงเป็นข้อจำกัดที่สำคัญของหุ้นกู้และพันธบัตรครับ
-
RE: ผลกระทบของอัตราดอกเบี้ยกับการลงทุนในหุ้น
@curious อัตราดอกเบี้ยที่ลดลง นั่นหมายถึงต้นทุนดอกเบี้ยหรือภาระทางการเงินของบริษัทต่าง ๆ มีแนวโน้มที่จะลดลง ซึ่งจะส่งผลให้กำไรสุทธิสูงขึ้น จึงส่งผลดีต่อตลาดหุ้นครับ แต่ทั้งนี้หากวิเคราะห์ในโลกของความเป็นจริงแล้ว อาจจะต้องดูปัจจัยอื่น ๆ ประกอบด้วยครับ เพราะปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับตลาดหุ้นนั้นมีมากมายครับ