@meesookho ด้วยความยินดีมากๆครับ.. อาจารย์จ๊อบ
-
RE: ขอแชร์ ' กฎลงทุน 10 ข้อ ของ บ็อบ ฟาเรล' ครับ
-
ขอแชร์ ' กฎลงทุน 10 ข้อ ของ บ็อบ ฟาเรล' ครับ
แนวคิดการลงทุนนี้.. ออกจะเป็นแนวกลยุทธ์ผสมเชิงเทคนิคครับ
กฎลงทุน 10 ข้อ ของ บ็อบ ฟาเรล
ดร. บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ
บ็อบ ฟาเรล ถือเป็นนักวิเคราะห์ด้านเทคนิคและนักกลยุทธ์ระดับชั้นนำ ของแบงก์สหรัฐที่มีชื่อเสียงมากในยุคทศวรรษ 80 เขาได้ตั้งกฎการลงทุน 10 ข้อ ของ บ็อบ ฟาเรล ที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก ดังนี้
1. ตลาดมีแนวโน้มจะเข้าสู่ค่าเฉลี่ย เมื่อเวลาผ่านไปเรื่อยๆ
น่าจะไม่มีอะไรดีไปกว่าการพล็อตจุดต่างๆของอัตราผลตอบแทนของตลาดหุ้นสหรัฐในอดีต ซึ่งจะขอใช้ดัชนี S&P500 ของตลาดหุ้นสหรัฐ ที่มีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยระยะยาวที่ราว 7% หากไปดูรูปเมื่อตีเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาวดังกล่าว จะพบว่ามีทั้งส่วนที่มีอัตราผลตอบแทนสูงและต่ำกว่าค่าเฉลี่ยสลับกัน
และเข้าสู่ค่าเฉลี่ยในระยะยาว
2. ส่วนที่เกินเลยไปสำหรับในทิศทางหนึ่ง มักจะนำไปสู่ส่วนที่เกินเลยไปในทิศทางตรงกันข้ามตัวอย่างของการลงมากๆไปในทางหนึ่ง แล้วกลับมาพุ่งขึ้นแบบร้อนแรงในอีกทาง คงไม่ต้องดูอื่นไกลไปจากดัชนีหุ้นเทคโนโลยีสหรัฐ Nasdaq ที่ในปี 2022 อัตราผลตอบแทนติดลบกว่า 20% จากนั้นในปี 2023 อัตราผลตอบแทนกลัยมาพลิกเป็นบวกด้วยขนาดไล่ๆกันที่กว่า 20% และในช่วง 5-6 เดือนแรกของปี 2024 อัตราผลตอบแทนตลาดหุ้นสหรัฐยังคงร้อนแรงต่อเนื่องจากหุ้น Mag-7
3. ไม่มียุคแห่งศักราชใหม่: ส่วนเกินของราคาไม่เคยเป็นสิ่งถาวรและยั่งยืน
หากจะให้ยกตัวอย่างการโฆษณาชวนเชื่อว่าเราได้เข้าสู่ยุคศักราชใหม่ที่เศรษฐกิจหรือการลงทุนแนวใหม่ล่าสุดจะสร้างความร่ำรวยให้เป็นอย่างถาวรและยั่งยืน จะขอเริ่มตั้งแต่ในศตวรรษที่ 17 ซึ่งเกิดวิกฤตการเก็งกำไร Tulip Mania ในยุโรป ไล่เรียงมาจนถึงในบ้านเรา ที่มีการเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์ในช่วงก่อนวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 1997 แล้ว ข้ามไปสู่ Dot Com Bubble ในสหรัฐ เมื่อปี 1999 ซึ่งฟองสบู่หุ้นอินเตอร์เน็ตแตกในตลาดสหรัฐในปีถัดมา แล้วจึงมาสู่วิกฤตซับไพร์มที่ตราสาร Securitization ที่อ้างอิงสินเชื่อบ้านสหรัฐได้นำมาซึ่งวิกฤตการเงินโลกในปี 2008 จนกระทั่งมาสู่การแตกของฟองสบู่คริปโต้ในปี 2022
4. การพุ่งขึ้นหรือทะยานลงของดัชนีตลาดหุ้นแบบเอ็กซ์โปเนนเชียล มักจะไปไกลกว่าที่คุณคิด ทว่าไม่เคยถูกทำให้กลับเหมือนเดิม (Correct) ด้วยตลาดที่เป็นแบบไซด์เวย์
ฟาเรลมองว่าการที่ตลาดขึ้นไปในจุดสูงมากๆ ทำให้หลายคนเกิดความประมาทว่าจะไม่ร่วงลงมาแบบพลิกโฉม
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด ในแบบที่ตลาดหุ้นเมื่อขึ้นถึงจุดสูงสุด แล้วไม่ได้เป็นตลาดแบบไซด์เวย์ในจังหวะถัดไป ทว่าจะดิ่งลงมาเรื่อยๆ ดูจะไม่ใช่ตลาดอื่นไกล คือดัชนีตลาดหุ้นไทยนั่นเอง
โดยหลังจากที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยร่วงลงมาเหลือไม่กี่ร้อยจุดในช่วงต้นปี 2009 หลังวิกฤตซับไพร์ม และได้ขึ้นถึงจุดสูงสุดที่เกือบ 1,900 จุดเมื่อต้นปี 2018 หากเรามาพิจารณาดัชนี ณ ตอนนี้ ที่ระดับประมาณ 1,200 ปลายๆ จะพบว่าการ Correct จากจุดสูงสุดไม่ได้เป็นแบบตลาดไซด์เวย์จริงๆ ซึ่งน้อยคนในปี 2018 จะคิดว่าตลาดหุ้นไทยจะกลับมาสู่จุด 1,200 กว่าๆ โดยที่ไม่นับช่วงวิกฤตโควิด เนื่องจากถือเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติแบบเหนือความคาดหมายของคนทั่วโลก
5. คนทั่วไปโดยส่วนใหญ่จะซื้อมากที่สุดตรงราคายอดดอย และซื้อน้อยที่สุด ตรงจุดต่ำสุดของตลาด
บ็อบ ฟาเรล ได้นำข้อมูลการซื้อขายหุ้นของนักลงทุนในบริษัทที่ตนเอง ทำงานอยู่มาวิเคราะห์ เขาพบว่าคนส่วนใหญ่ซื้อหุ้นเยอะในช่วงที่ ราคากำลังถึงจุดสูงสุด และขายหุ้นเยอะในช่วงที่ราคาดิ่งต่ำสุด เขาจึงนำผลการวิเคราะห์มาเขียนเป็นกฎการลงทุนในข้อนี้ ว่าเป็นอารมณ์ของนักลงทุนที่พาเข้าไปซื้อหรือขายจากการคาดหวังราคา ในจังหวะถัดไป มากกว่าปัจจัยพื้นฐานจริงๆที่พาไปซื้อหรือขายหุ้น
โดยยิ่งคนซื้อหุ้นเยอะ แสดงว่าความอ่อนไหวต่อราคาที่จะร่วงลงมีสูงขึ้น ในทางกลับกัน หากคนส่วนใหญ่พากันกลัว แสดงความเสี่ยงอยู่ในระดับที่ลดลง
6. ความกลัวและความโลภนั้น มักจะมีความรุนแรงมากกว่า สิ่งที่ไตร่ตรองเป็นอย่างดี จากการมองเป้าหมายการลงทุนประกอบกับ ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
ตัวอย่างในบ้านเรา ผมมองว่าคนที่ถือกองทุน RMF ที่ใกล้จะครบอายุไถ่ถอน น่าจะซื้อมาไม่ต่ำกว่า 15-20 ปี ซึ่งในยุคนั้น มีแต่กองทุนที่ถือครองหุ้นไทย โดยดัชนีหุ้นไทยขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่เกือบ 1,900 จุดเมื่ อต้นปี 2018 ผมมองว่าน้อยคนจะสลับกอง RMF ในช่วงนั้น ไปสู่กอง RMF ต่างประเทศ เนื่องจากมองว่าตลาดหุ้นไทยยังน่าจะไปต่อหรืออย่างน้อยก็ยืนได้ นั่นคือสิ่งที่ไตร่ตรองเป็นอย่างดี จากการมองเป้าหมายการลงทุนประกอบกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ถูกอิทธิพลของความโลภมากลบ
หรืออีกตัวอย่างในสหรัฐ เมื่อปี 1999 ที่ตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นจากกระแสอินเตอร์เน็ต ผู้ถือกองทุนบำนาญส่วนใหญ่ไม่ยอมไถ่ถอนกองทุนออกมาเนื่องจากต้องการได้อัตราผลตอบแทนที่สูงขึ้นไปอีก จนในปีต่อมาตลาดหุ้นลดลง 81% ตามด้วยการที่ตลาดหุ้นสหรัฐได้ไซด์เวย์ต่อไปอีก 12 ปี
7. ตลาดจะแข็งแกร่งที่สุด เมื่อมีหุ้น blue-chip อยู่ในสัดส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับจำนวนหุ้นทั้งหมด และ ตลาดจะอ่อนแอที่สุด เมื่อมีหุ้น blue-chip อยู่ในสัดส่วนที่ต่ำเมื่อเทียบกับจำนวนหุ้นทั้งหมด
มาตรวัดหนึ่งที่จะวัดว่าตลาดหุ้นที่เป็นขาขึ้นจะเป็นการขึ้นที่มีความแข็งแกร่งหรือไม่นั้น ได้แก่ Breadth หรือจำนวนหุ้นที่ราคาขึ้นจนสามารถ นำพาให้ดัชนีตลาดหุ้นทั้งตลาดพุ่งขึ้นมา โดยจากในอดีตที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐในทศวรรษที่ 1970 ซึ่งมักจะเรียกว่ายุค Nift Fifty และปี 1999 เป็นขาขึ้นแบบพุ่งทะยานทว่าไม่สามารถยืนระยะได้ เนื่องจาก Breadth ถือว่าค่อนข้างแคบ หรือจำนวนหุ้น blue-chip ที่พาตลาดหุ้นขึ้นมามีอยู่ไม่กี่ตัว
โดยในช่วงนี้ บรรดาหุ้น Mag-7 ที่นำพาตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นมาในกว่า 1 ปีที่ผ่านมา จะสามารถยืนระยะได้นานกว่าตลาดหุ้นสหรัฐทั้ง 2 ครั้งในอดีต ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นหรือไม่
8. ตลาดหมี จะแบ่งได้เป็น 3 สถานะ ได้แก่ ลดลงอย่างรวดเร็ว, กระเตื้องกลับมาอย่างรวดเร็วแบบที่ตลาดคิดว่าลงมากไป และสู่แนวโน้มขาลงแบบลากยาวตามปัจจัยพื้นฐาน
9. เมื่อผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่คาดการณ์ตลาดทุกท่าน ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าจะเกิดสิ่งหนึ่ง ก็จะมีสิ่งอื่นเกิดขึ้นมาแทน
ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ ภาวะ Recession ในปี 2023 ที่นักเศรษฐศาสตร์ทุกท่านฟันธงจากเส้นโค้งอัตราดอกเบี้ยแบบกลับหัวของตลาดพันธบัตรสหรัฐ ท้ายสุดแล้วก็ไม่ได้เกิดขึ้นจริง
- ตลาดกระทิงน่าสนุกมากกว่าตลาดหมี ซึ่งทุกคนย่อมต้องรู้สึกเช่นนั้น !
-
RE: การลงทุนในประเทศอาเซียน
@Bananaheadteam ผมยังมองว่าที่น่าสนใจก็ยังเป็นตลาดหุ้น รวมถึงการลงทุนด้านอสังหาฯและ warehouse (แนว REIT) ในสิงคโปร์ครับ
อาจจะมีแนวสินค้าโภคภัณฑ์ในอินโดนีเซีย ทว่าก็เป็นหมวดสินค้าโภคภัณฑ์ที่แยกออกเป็น product ต่างหากไปเลย สำหรับด้านตราสารหนี้ ยังมองว่ากลุ่มใประเทศพัฒนาแล้ว อย่างสหรัฐและยุโรป น่าจะ firm กว่าครับ
สำหรับประเทศที่ควรลงทุน หากจะมองแบบลงทุนระยะเวลาปานกลางถึงระยะยาว ผมชอบตลาดหุ้นอินโดนีเซียและเวียดนาม โดยมีตลาดฟิลิปปินส์เป็น choice ถัดไปครับ ในขณะที่ลงทุนแบบความเสี่ยงต่ำหน่อย ผมมองไปที่ตลาดหุ้นสิงคโปร์ครับ
-
RE: ประเมินความเสี่ยงและโอกาสเศรษฐกิจปี 2024 กันหน่อย...
@tiantayach ผมมองจีนในปีนี้ ค่อนข้าง postive โดยส่วนตัวนะครับ
-
RE: ประเมินความเสี่ยงและโอกาสเศรษฐกิจปี 2024 กันหน่อย...
@phongthorn ครับ จีนมีหลายมุมจริงๆ ซึ่งเหมาะกับนักลงทุนเฉพาะ
บางกลุ่ม คิดว่าครับ -
RE: ประเมินความเสี่ยงและโอกาสเศรษฐกิจปี 2024 กันหน่อย...
@Tom89 พูดใน ประเมินความเสี่ยงและโอกาสเศรษฐกิจปี 2024 กันหน่อย...:
ครับ ทว่าหากพิจารณาในระยะยาว ไม่มีใครอยากจะพลาดการลงทุนในประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 1 ของโลก
@bonthr ผมมองว่าจีนเป็นประเทศที่ต้องระมัดระวังเรื่องของ Regulatory Risks เช่นการที่ภาครัฐมีการออกนโยบายต่าง ๆ เพื่อควมคุมธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่นที่ผ่านมา มีทั้งอุตสาหกรรมเทคโนโลยี อุตสาหกรรมการศึกษา รวมถึงการที่นโยบายภาครัฐก่อนหน้านี้อาจจะไม่ได้เป็นมิตรกับตลาดทุนมากนักครับผม ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ครับ
-
RE: ประเมินความเสี่ยงและโอกาสเศรษฐกิจปี 2024 กันหน่อย...
ไม่แน่ใจว่าเพื่อนๆ มีความเห็นกับจีนอย่างไรกันบ้างครับ...
-
ประเมินความเสี่ยงและโอกาสเศรษฐกิจปี 2024 กันหน่อย...
บทความนี้ จะประเมินความเสี่ยงและโอกาสเศรษฐกิจปี 2024:
เศรษฐกิจจีน: ความเสี่ยง & โอกาส ปี 2024
ดร. บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ
คงต้องยอมรับว่าสำหรับเศรษฐกิจจีน หลังจากเกิดวิกฤตโควิดเมื่อ 4 ปีที่แล้ว แทบจะยังไม่ได้ไปไหนอย่างชัดเจน หรืออาจจะเรียกได้ว่าหยุดอยู่กับที่ ก็พอจะพูดได้
จนกระทั่งเมื่อต้นเดือนที่แล้ว เราเริ่มจะเห็นถึงแนวทางของทางการจีนชัดเจนมากขึ้นพอสมควรแม้จะยังไม่ทั้งหมด ซึ่งหากจะกล่าวในภาพรวมคือ
หนึ่ง เน้นการส่งออกทั้งสินค้าและบริการ เนื่องจากปริมาณการผลิตสินค้าของจีนมีมากกว่าอุปสงค์ในประเทศจากการที่ชาวจีนเน้นการออมมากกว่าการบริโภค อันเป็นผลมาจากการขาดระบบบำนาญและประกันสุขภาพที่ดีพอ
สอง เน้นการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มพลังงานสีเขียวและยานยนต์ไฟฟ้า ด้วยการให้ subsidies หรือเงินอุดหนุน เพื่อให้มีราคาที่ต่ำท่ีสุด โดยคุณภาพยังดีพอจะชนะคู่แข่งได้
และ ท้ายสุด การเอาจริงเอาจังในการแก้หรือบรรเทาปัญหาอสังหาริมทรัพย์ที่มีความรุนแรงเนื่องจากเกิดขึ้นมานาน ด้วยการทุ่มเงินก้อนใหญ่พอสมควรให้กับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจไปซื้อหนี้เสียซึ่งประเมินว่ายังพอมีศักยภาพ เพื่อต่อลมหายใจให้กับผู้ประกอบการ
บทความนี้ จะขอกล่าวถึงโอกาสและความเสี่ยงของทางการจีนที่พยายามสร้างการเติบโตให้กับเศรษฐกิจจีน ดังนี้
- (โอกาส) ความหวังที่จะเป็น New Engine of growth ประกอบด้วย 2 ปัจจัย ได้แก่
หนึ่ง การส่งออก version 2.0: คงต้องบอกว่าไม่ว่าจีนจะย่ำแย่หรือซึมเซามากขนาดไหนในแง่ของการเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ทว่ามีอยู่สิ่งหนึ่งที่ยังไว้ใจได้เสมอ นั่นคือการส่งออกที่ยังคงเป็นที่หนึ่งหากเทียบกับยักษ์ใหญ่ของในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว โดยดุลการค้ากับสหรัฐ ถือว่ายังคงเกินดุลเป็นอย่างมาก ซึ่งเกินดุลในปีล่าสุดมากสุดเป็นประวัติการเสียด้วยซ้ำ จนสหรัฐต้องตัดสินใจขึ้นกำแพงภาษีต่อจีนในกลุ่มสินค้าพลังงานสีเขียวและยานยนต์ไฟฟ้า แถมยังเรียกร้องให้ประเทศในยุโรปขึ้นภาษีตาม ทว่าได้รับการตอบรับท่่ีไม่ดีนัก
ทั้งนี้ การท่ีรัฐบาลจีนเน้นการส่งออกดังกล่าว ได้สร้างประโยชน์ต่อประเทศจีน ใน 3 มิติ ได้แก่
-
มิติเศรษฐกิจ นั่นคือ การส่งออกที่เติบโตช่วยชดเชยการบริโภคของจีนที่ต่ำเพียง 35% เมื่อเทียบกับจีดีพี หรือเป็นแค่เพียงครึ่งหนึ่งของสัดส่วนการบริโภคในประเทศพัฒนาแล้ว และนั่นเป็นเหตุผลที่อัตราการเติบโตของจีดีพีของจีนยังสามารถโตได้ 5% ในช่วงเวลานี้
-
มิติสังคม ทำให้จีนสามารถแก้ปัญหาการบริโภคที่มีน้อยกว่าขนาดประเทศ จะไปส่งผลให้ภาคการผลิตหดตัวลงผ่านการส่งออกไปต่างประเทศ นั่นจะช่วยบรรเทาปัญหาการว่างงานซึ่งมีสูงค่อนข้างมากในกลุ่มคนเพิ่งจบการศึกษาใหม่ๆ
และ 3. มิติการเมือง โดยการส่งออกจีน ซึ่งเป็นที่หนึ่งในกลุ่มพลังงานสีเขียวและกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้าในเวทีโลก ช่วยสร้างภาพลักษณ์ในแง่การเมืองระหว่างประเทศว่าเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีในสาขาดังกล่าว
สอง การที่จะสามารถมีสินค้าด้านอุตสาหกรรมที่มีราคาถูกกว่าประเทศคู่แข่งในเวทีโลกได้ย่อมจะต้องมีการให้เงินหรือข้อได้เปรียบด้านต่างๆ อาทิ ด้านภาษีและกฎเกณฑ์ในอุตสาหกรรมนั้นๆ ต่อบริษัทของจีนเอง แน่นอนว่าสหรัฐและยุโรปเองก็ได้ใช้กลยุทธ์ดังกล่าวเพื่อสร้างความได้เปรียบให้กับบริษัทของตนเองเช่นกัน
อย่างไรก็ดี ระบบและความลึกของการให้ความช่วยเหลือต่อบริษัทของตนเอง ยังถือว่ายังห่างชั้นกับจีน นั่นจึงทำให้ทางการสหรัฐหันมาขึ้นกำแพงภาษีต่อสินค้าหมวดเด่นๆของจีน พร้อมกับพยายามโน้มน้าวพันธมิตร อย่างยุโรป ให้ขึ้นกำแพงภาษีตามตนเอง
หันมาพิจารณาสิ่งที่ทางการจีนพยายามจะแก้ปัญหา ได้แก่ ภาคอสังหาริมทรัพย์ ผ่านการใช้กลไกการซื้อหนี้เสียที่มีศักยภาพโดยตรงจากตลาด แม้จะเป็นการแก้ปัญหาตรงจุด ทว่าต้องใช้ทรัพยากรที่มากมายและเวลาที่ค่อนข้างนาน กว่าที่จะเห็นผลเป็นรูปธรรมเกือบทั้งระบบ
- ด้านปัญหา (ความเสี่ยง) ที่ยังมีอยู่ในระยะยาว คือ การบริโภคในประเทศที่มีน้อยไป และการออมที่มากไป ซึ่งทางการจีนรู้ดีว่า หากทำให้การบริโภคสูงขึ้น ผ่านการให้ค่าจ้างของชาวจีนสูงขึ้น จะเกิดความวุ่นวายทั้งในส่วนของการแก่งแย่งระหว่างกันของคนจีนด้วยกันเอง และทำให้ความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกของจีนย่ำแย่ลง จากต้นทุนที่สูงขึ้น ซึ่งแม้ว่าในขณะนี้ จีนก็มีปัญหาต้นทุนสินค้าที่สูงกว่าคู่แข่งรายใหม่ๆ อย่างอินเดียและเวียดนามอยู่แล้ว ซึ่งจีนสามารถยังยิ่งใหญ่ด้านการส่งออกในทุกวันนี้ ก็จากอุตสาหกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากทางการเป็นหลัก
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ปัญหาดังกล่าวแก้ได้ยาก เพราะจะทำให้เกิดปัญหาด้านสังคมในระยะต่อไปตามมาด้วยนอกจากปัญหาด้านเศรษฐกิจ
ท้ายสุด ปัญหาใหญ่ของจีนอยู่ตรงที่ ผลเชิงบวกจากการส่งออกโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคอุตสาหกรรมที่เติบโตได้ดี อาจจะไม่มีพลังมากพอที่จะประคองเศรษฐกิจจีนได้ดีและนานพอ ก่อนที่จะรอจนการบริโภคสามารถขยับเพิ่มขึ้นมาทดแทน เนื่องจากมาตรการ Protectionism ด้านการส่งออกของสหรัฐและประเทศอื่นๆที่เป็นพันธมิตร อาทิ ญี่ปุ่นและอินเดีย จะมีเยอะขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงคู่แข่งด้านอุตสาหกรรมก็จะมีมากขึ้นเรื่อยๆในอนาคตอันใกล้
ที่มาบทความ: https://www.efinancethai.com/MoneyStrategist/MoneyStrategistMain.aspx?release=y&id=TmRHR2s0VitrWDQ9
-
RE: ราคาทองคำที่พุ่งสูงในปีนี้ มันคือความเสี่ยงหรือโอกาสที่ควรลงทุน ?
@T_Anonymous พูดใน ราคาทองคำที่พุ่งสูงในปีนี้ มันคือความเสี่ยงหรือโอกาสที่ควรลงทุน ?:
ผมอยากทราบว่าสถานการณ์ในตอนนี้เหมาะแก่การลงทุนในทองคำ ทั้งการซื้อหุ้น หรือตุนทองมั้ยครับ ?
A: หากพิจารณาตามระดับราคาในช่วงปีนี้ เหมาะกับการลงทุนในระยะสั้นแบบ Day Trade มากกว่า
แต่ หากจะลงทุนแบบระยะยาวจริงๆ ก็น่าจะซื้อเก็บในช่วงที่ราคาย่อลงได้ เนื่องจาก แนวโน้มในในอนาคต Geopolitics มีโอกาสที่จะรุนแรงขึ้น และอัตราดอกเบี้ยมีโอกาสไม่กลับไปสูงเหมือนในอดีตก่อนวิกฤตซับไพร์มครับ
หรือมันมีความเสี่ยงที่ราคาทองคำจะลดต่ำลงแบบ Skyrocket เช่นเดียวกับที่ราคามันดีดตัวสูงขึ้นแบบในตอนนี้ครับ ?
A: มีโอกาสที่ความเสี่ยงที่ราคาทองคำจะลดต่ำลงแบบ Skyrocket เช่นเดียวกับที่ราคามันดีดตัวสูงขึ้นแบบในตอนนี้เหมือนกัน หากสงครามอิสราเอลและยูเครนยุติลง
แต่ ก็มีโอกาสที่ราคาทองคำจะพุ่งขึ้นต่อจากนี้ไปอีก หากจีนบุกไต้หวัน